วิธีการเดินสาย
วิธีการเดินสาย
Last Update : 13:24:33 27/10/2010
การเลือกใช้สายไฟฟ้า
การเลือกใช้สายไฟฟ้า
Last Update : 13:20:18 27/10/2010
เมนสวิตช์
เมนสวิตช์
Last Update : 13:13:33 27/10/2010
สวิตซ์ปิด–เปิด
สวิตซ์ปิด–เปิด
Last Update : 11:30:29 27/10/2010
หลักดิน
หลักดิน
Last Update : 11:17:42 27/10/2010
S-Plus
Brand : SAFE-T-CUT
Model : S-Plus
Last Update : 12:58:12 27/10/2010
Super Plus
Brand : SAFE-T-CUT
Model : Super Plus
Last Update : 10:49:13 27/10/2010
SAFE-T-CUT Sepcial A
Brand : SAFE-T-CUT
Model : Sepcial A
Last Update : 10:39:36 27/10/2010
SAFE-T-CUT Sepcial A 3P
Brand : SAFE-T-CUT
Model : Sepcial A 3P
Last Update : 10:34:42 27/10/2010
RCD PLUG
Brand : NO ASK
Model : LEP 15L
Last Update : 10:29:59 27/10/2010

สวิตซ์ปิด–เปิด

Last Update: 11:30:29 27/10/2010
Page View (1769)

สวิตซ์ปิด–เปิด ในที่นี้หมายถึง สวิตซ์สำหรับปิด–เปิดหลอดไฟหรือโคมไฟสำหรับแสงสว่างหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ ที่มีการติดตั้งสวิตซ์เอง มีข้อแนะนำดังนี้
1.เลือกใช้แต่สินค้าที่มีมาตรฐาน มอก. หรือ มาตรฐานสากลอื่น ๆ ที่มีการรับรอง เช่น UL, VDE, KEMA, DIN เป็นต้น
2.แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่กำหนดของสวิตซ์ต้องไม่ต่ำกว่าค่าที่ใช้งานจริง
3.การเข้าสาย / ต่อสายต้องแน่น และมั่นคงแข็งแรง
4.สปริงต้องแข็งแรง ตัดต่อวงจรได้ฉับไว
5.ฝาครอบไม่ร้าวหรือแตกง่าย
6.ถ้าใช้งานภายนอกต้องทนแดด ทนฝนได้ด้วย
7.ถ้าสัมผัสที่สวิตซ์แล้วรู้สึกอุ่นหรือร้อน แสดงว่ามีการต่อสายไม่แน่น หรือสวิตซ์เสื่อมคุณภาพ
8.หลีกเลี่ยงการติดตั้งสวิตซ์ในที่ชื่นแฉะ และห้ามสัมผัส หรือใช้สวิตซ์ในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น
9.ติดตั้งสวิตซ์ตัดวงจรเฉพาะกับสายเส้นที่มีไฟ (ฉนวนสีดำ) เท่านั้น ถ้าตัดเฉพาะสายเส้นที่ไม่มีไฟต้องแก้ไขใหม่

หลักในการเลือกซื้อเต้าเสียบ และเต้ารับ  เต้าเสียบและเต้ารับที่ดีและปลอดภัย ควรมีลักษณะดังนี้
 - มีการป้องกันนิ้วมือไม่ให้สัมผัสขาปลั๊กในขณะเสียบหรือถอดปลั๊ก เช่น การทำให้เต้ารับเป็นหลุมลึกหรือการหุ้มฉนวนที่โคนขาปลั๊ก หรือทำเต้าเสียบ (ปลั๊ก)ให้มีขนาดใหญ ่เมื่อกุมจับเต้าเสียบแล้วไม่มีโอกาสสัมผัสขาปลั๊กส่วนที่มีไฟ
- มีการป้องกันเด็กใช้นิ้วหรือวัสดุแหย่รูเต้ารับ เช่น มีฝาหรือบานพับเปิด–ปิดรูของเต้ารับ ซึ่งบานพับจะเปิดเฉพาะตอนใช้ปลั๊กเสียบเท่านั้น
- มีมาตรฐานสากลรับรอง และผ่านการทดสอบตามมาตรฐานนั้น ๆ เช่น UL, VDE, DIN, KEMA เป็นต้น
- ขนาดของกระแสและแรงดันไฟฟ้าสอดคล้องกับการใช้งานจริง เช่น ระบบไฟ 220 โวลต์ ห้ามนำเต้าเสียบ–เต้ารับสำหรับระบบไฟไม่เกิน 125 โวลต์ มาใช้งาน
- เสียบแล้วแน่นคงทน ไม่หลวมง่าย หรือเกิดความร้อนขณะใช้งาน เช่น ทดลองเสียบปลั๊กแล้วดึงออก 5 – 10 ครั้ง ถ้ายังคงฝืดและแน่นแสดงว่าใช้งานได้ 

เต้าเสียบ – เต้ารับ ที่ใช้กับระบบสายดิน
เต้าเสียบของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเปลือกนอกเป็นโลหะ (เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 1) ต้องใช้เต้าเสียบชนิดที่มีขั้วสายดินและเต้ารับก็ต้องเป็นชนิดที่มีขั้วสายดินและมีการต่อ ลงดินเข้ากับระบบสายดินด้วย (ใช้มาตรฐานเดียวกัน)
เต้ารับแบบมีสายดินที่ใช้สำหรับระบบไฟ 220 v นั้นเป็นรูปแบบใด
เต้ารับชนิดมีสายดิน สำหรับระบบไฟ 220 โวลต์ ซึ่งใช้กันมากในยุโรปนั้นมีลักษณะเป็นหลุมลึกขั้วสายดินจะเป็นเขี้ยว 2 เขี้ยว อยู่ด้านข้างของตัวเต้ารับ เต้ารับแบบนี้แม้จะมีสายดินแต่ก็มีเพียง 2 รูเท่านั้น (เต้าเสียบก็มีเพียง 2 ขา) ดังนั้นผู้ที่ไม่ทราบจึงคิดว่าเป็นชนิดที่ไม่มีสายดินและเข้าใจผิดว่าเต้าเสียบ – เต้ารับที่มีสายดินต้องมี 3 ขา และ 3 รูเท่านั้น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ต้องใช้ปลั๊ก (เต้าเสียบ) ที่มีสายดิน จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ ประเภทที่มีฉนวนหนาเป็น 2 เท่าของปกติที่มักเรียกว่าฉนวน 2 ชั้น ซึ่งต้องมีเครื่องหมาย  ประทับบริเวณฉลาก หรือหน้าปัทม์ของเครื่อง อีกประเภทหนึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 50 โวลต์ ก็ไม่ต้องใช้ปลั๊กแบบมีสายดิน บางครั้งอาจมีสัญลักษณ์  ประทับบนฉลากของเครื่อง วิธีทดสอบง่าย ๆ ว่าเป็นเครื่องใช้ประเภท 2 โดยไม่ต้องเชื่อสัญลักษณ์ก็คือใช้ไขควงลองไฟกับส่วนที่เป็นโลหะ หากมีไฟรั่วไม่ว่ากรณีใดถือว่าต้องมีสายดิน



 
© 2000-2008 CopyRight by Safe-T-Cut (Thailand) Co.,Ltd.
Tel. 027581261-70  Fax. 023843832  Website. www.safe-t-cut.com
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login